วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

งานที่ 3



พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย เกิดจากแรงบันดาลใจของผู้สร้างสรรค์กลุ่มหนึ่งนำโดย อาจารย์ดวงแก้วพิทยากร ศิลป์ ที่สนใจการสร้างหุ่นขี้ผึ้ง และศึกษาค้นคว้าทดลองเป็นเวลานานกว่า 10 ปี จึงประสบความสำเร็จ สามารถสร้างหุ่น ขี้ผึ้งยุคใหม่จากไฟเบอร์กลาสที่มีความคงทน ประณีต งดงาม เหมือนคนจริงที่สุด จนคณะผู้ร่วมงานเห็นสมควรที่ จะสนับสนุนให้ก้าวหน้าต่อไป เพื่อสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติและศิลปินไทย จึงเริ่มโครงการก่อตั้งพิพิธ ภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ไทยในปี พ.ศ. 2525 สำหรับเป็นสถานที่สร้างและจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาส เพื่อการ อนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีไทย อันจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าของเยาวชน โดยปัจจุบันมีหุ่นไฟเบอร์กลาสทั้งหมด 120 รูปอาคารพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทยนี้เป็นอาคารสองชั้น โดยมีการจัด แสดง ด้วยกันสองชั้นคือ ชั้นล่าง จัดแสดงหุ่นชุดต่างๆ เช่น ชุดพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์ราชวงค์จักรี, พระบรมรูปสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี, ชุดพระอริยสงฆ์, ชุดมุมหนึ่งของชีวิต เป็นต้น
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
โซนแรกคือห้องจัดแสดงพระอริยสงฆ์ ซึ่งได้แก่ พระครูภาวนารังษี, พระธรรมญาณมุนี, พระโพธิญาณเถร, ครูบาชัยวงศาพัฒนา, หลวงจีนคณาณัติจีนพรต, พระมงคลเทพมุนี, พระราชสังวราภิมณฑ์, พระสุพรหมยานเถร, พระนิโรธรังสีคัมภีร์ปัญญาจารย์, หลวงพ่อเกษม, สมเด็จพระพุฒาจารย์, พระครูวิมลคุณากร, พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์, พระอาจารย์มั่น, ครูบาศรีวิชัย ปั้นได้เหมือนจริงมาก
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทยพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทยพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
ห้องแสดงต่อไปซึ่งถือเป็นไฮไลด์ของที่นี่ ห้องจัดแสดงพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์พระบรมราชจักรีวงค์ รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 8 ล่ะ ห้องจัดแสดงต่อไป เป็นห้องจัดแสดงพระบรมรูปสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราช ชนนี สมเด็จย่าแม่ฟ้าหลวงของปวงชนชาวไทยนั่นเอง ภายในห้องนี้ประกอบไปด้วยประราชประวัติและ พระกรณียกิจต่างๆ และภาพงานพระราชพิธีสุดท้าย
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทยพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
ห้องจัดแสดงต่อไป เป็นห้องหุ่นชุดครอบครัวไทย เป็นห้องแสดงสุดท้ายสำหรับห้องจัดแสดงชั้นล่าง ซึ่งเดินไป เดินมาจะมาออกที่ ด้านหน้าทางเข้า พวกเราก็เดินขึ้นชั้นสองกันต่อ ซึ่งห้องจัดแสดงชั้นบนแรกสุดจะเป็นการ จัดแสดงชุด 3 ครูไทยได้แก่ ครูจวงจันทร์ จันทร์คณา (บรมครูพรานบูรพ์) ครูเอื้อ สุนทรสนาน ครูไพบูลย์ บุตรขัน
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย 
เดินเข้าไปตามทางเดินเรื่อยๆ ห้องแสดงหุ่นชุดต่อไปคือ ชุด 3 บุคคลสำคัญของโลก ซึ่งได้แก่ มหาตมา คานธี, อับราฮัม ลินคอล์น, เซอร์ วินสตัน เชอรชิล เป็นต้น คานธีเป็นนักการเมืองที่ได้ต่อสู้เพื่ออิสรภาพของประเทศ จากการปกครองของอังกฤษทำให้โลก ต้องจดจำคานธี ผู้ซึ่งได้รับการขนานนามว่า "มหาตมา" แปลว่า ผู้มีจิตใจ สูงส่ง เป็นบิดาแห่งประชาชนชาติอินเดีย อับราฮัม ลินคอล์น ผู้ปลดปล่อยทาสของสหรัฐอเมริกา "รัฐบาลของ ประชาชนโดย "เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล เป็นวีรบุรุษ ผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษ ซึ่งทั้งสามท่านมีบทบาททางด้านการเมืองในแต่ละประเทศ โดยส่วนตัวแล้ว เราเองเป็น คนที่ไม่ค่อยมีความรู้
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย 
ห้องจัดแสดงชุดต่อไปเป็นชุดวัฒนธรรมประเพณีไทย เรื่องการละเล่นของไทย ได้แก่ การเล่นรีรีข้าวสาร การเล่น แมงมุม การเล่นจ้ำจี้ การเล่นขี่ม้าช้างชนกัน และการเล่นหัวล้านชนกันห้องต่อไปที่ดูเหมือนจะได้รับความสนใจ จากเด็กๆ ก็เห็นจะเป็นชุดวรรณคดีไทย เรื่อง พระอภัยมณีของสุนทรภู่นี่ล่ะ ห้องนี้เหมือนห้องรวมดาววรรณคดี สุนทรภู่เลยล่ะสุนทรภู่กวีเอกของโลก มีชื่อเสียงในด้านสำนวนกลอนเป็นที่เลืองลือจนได้รับการยกย่องว่าเป็น บรมครูกลอนแปด และได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นกวีที่มีจินตนาการกว้างไกล สร้างโครงเรื่องและเนื้อหา ของ นิทานได้น่าสนใจ และชวนติดตามสุนทรภู่ได้รับประกาศเกียรติคุณให้เป็นกวีของโลก จากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทยพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
ห้องจัดแสดงชุดสุดท้ายที่ดูเหมือนจะเป็นโซนไฮไลด์ของชั้นบนก็คงจะเป็นชุดเลิกทาส "Slavery in Thailand" ทาสใน
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย 
ขอบคุณภาพสวยๆจาก
  http://kemmud.multiply.com

อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม




ทยานหุ่นขี้ผึ้งสยามเกิดขึ้น จากความตั้งใจ และความคิดของท่านผู้ก่อตั้งซึ่งมีรากฐานการเริ่มต้นของงาน
มาจากงานหล่อพระพุทธรูป งานหล่อประติมากรรมรูปต่างๆ นับจากอดีตจนสู่ปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า ๔๐ ปีที่ผ่านมา จากประสบการณ์ทำให้ผู้ก่อตั้งมีความคิดที่จะสร้างสรรค์ ผลงานประติมากรรมรูปเหมือน ของพระสงฆ์รูปต่างๆ ซึ่งจำพรรษาในกุฏิ และรูปเหมือนบุคคลสำคัญต่างๆที่ท่านผู้ก่อตั้ง มีความศรัทธายกย่อง ในด้าน แนวความคิด ในการทำงาน และการดำเนินชีวิต จนประสบความสำเร็จ รวมทั้งรูปเหมือน วิถีชีวิตวัฒนธรรม ความเป็นไทย ในภาคต่างๆ ของประเทศไทย จึงได้เริ่มก่อตั้ง โครงการอุทยาน หุ่นขี้ผึ้งสยามขึ้นมา ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ และด้วยความ มุ่งมั่น ที่มาจากความคิดสร้างสรรค์ จากความเชื่อมั่น ในคำสอน เรื่องทำความดี ความศรัทธาในบุคคล กำลังใจจากครูอาจารย์ เพื่อนมิตรและครอบครัว ทำให้โครงการ อุทยานหุ่นขี้ผึ้ง ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ที่จะนำเสนอ งานสร้างสรรค์ ด้านศิลปะ วัฒนธรรมไทย วิถีชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมไทย นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อสืบทอด สิ่งดีงามเอกลักษณ์ ของไทยให้คงอยู่สืบต่อชนรุ่นหลัง.
 
The Inspiration for Siam Cultural Park
Siam Cultural Park
 was initiated by a group of people who specialized in making Buddha images and had exceptional backgrounds and strong experience in sculpture and molding works. The experience they gained in over 40 years of working in molding and sculpture inspired them to have the greater ambition to create realistic wax statues of monks and other important and successful people who are respected by the Thai people. They also wanted to create a waxwork zone showing the lifestyle of Thai people in each region in the past. The Siam Cultural Park was established in 1997 out of the founders’ ambition to generate creative works and their dedication to do good things. Their faithfulness in other people and the encouragement they received from teachers, gurus, friends and family were the fundamental source of success of the Siam Cultural Park project. The park is intended to present creative artworks reflecting Thai culture and ways of life from the past until the present for the next generations to learn about the uniqueness of Thai culture.



         ๑. เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนทางจิตใจ
         ๒. เพื่อเป็นแหล่งการศึกษาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบัน
         ๓. เพื่อปลูกจิตสำนึกในการดำเนินชีวิต
         ๔. เพื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนาสำหรับเยาวชน
       ๕. เพื่ออนุรักษ์สืบสานศิลปะและวัฒนธรรมไทย
 
Objectives

1. To be a recreational place of mind
2. To be an educational tourism destination
3. To help people understand and appreciate the traditional way of life
4. To promote knowledge of Buddhism
5. To maintain traditional Thai art and culture

1 ความคิดเห็น:

  1. วัตถุประสงค์
    ๑. เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนทางจิตใจ
    ๒. เพื่อเป็นแหล่งการศึกษาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบัน
    ๓. เพื่อปลูกจิตสำนึกในการดำเนินชีวิต
    ๔. เพื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนาสำหรับเยาวชน
    ๕. เพื่ออนุรักษ์สืบสานศิลปะและวัฒนธรรมไทย

    ตอบลบ